Background



ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
23 กันยายน 2565

12


ประวัติอำเภอระแงะ และตำบลตันหยงมัส
     ตำบลตันหยงมัสเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอระแงะ  และอำเภอระแงะตามประวัติศาสตร์เป็นเมืองหนึ่งขึ้นอยู่กับมณฑลปัตตานี อันเป็นเมืองโบราณตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี จนกระทั่งถึงรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหน้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเหตุผลทางการเมือง พระองค์ทรงพระกรุณษโปรดเล้าฯ ให้พระยาอภัยสงครามกับพระยาสงขลา ( เถียนจ๋อง ) ออกไปทำการแยก เมืองปัตตานีออกเป็นเจ็ดหัวเมือง พร้อมอัญเชญตราตั้ง ออกไปพระราชทานแก่เมืองทั้งเจ็ดเรียกว่า "บริเวณ 7 หัวเมือง ได้แก่ อำเภอระแงะ เป็นอำเภอหนึ่งใน 7 หัวเมือง ประกอบด้วยเมืองปัตตานี เมืองยะลา เมืองหนองจิก   เมืองรามัน เมืองสายบุรี เมืองยะหริ่ง เมืองระแงะ โดยมีการแต่งตั้งให้มีผู้ปกครองแต่ละเมือง เรียกว่าพระยาเมือง
     เมืองระแงะจึงย้ายมาอยู่ที่ตำบลตันหยงมัส และทรงโปรดเล้าฯแต่งตั้งนายหนิเดะ เป็นพระยาเมืองปกครอง และเมื่อนายหนิเดะได้ถึงแก่กรรม ตำแหน่งว่างลง จึงทรงโปรดแต่งตั้งให้นายหนิบอสูเป็นผู้รักษาราชการแทนสืบต่อเนื่องมาจนกระทั่งมีการโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนแปลงการปกครอง 7 หัวเมืองโดยให้ขึ้นตรงต่อมณฑลนครศรีธรรมราช
     พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าพระปิยมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตามบรรดาศักดิ์แก่เจ้าเมืองพระยาระแงะว่าพระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา และเจ้าเมืองอื่น ๆ ด้วย พ.ศ.2444 ได้ประกาศข้อบังคับสำหรับการปกครอง ในการปกครองมอบหมายให้เจ้าเมืองปกครองดูแล โดยมีกองบัญชาการงานเมือง มีปลัดเมือง ยกกระบัตรผู้ช่วยผู้ว่าราชการเมือง โดยมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ควบคุมดูแล ตรวจตรา แนะนำ ข้าราชการ และข้าราชการให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของราชการส่วนกลาง โดยยกเลิกการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการในการปกครองบริเวณ 7 หัวเมือง
     พ.ศ. 2450 ได้ย้ายเมืองระแงะ ที่บ้านตันหยงมัสไปตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านมะนาลอยู่ที่ตำบลบางนาค ใช้ชื่อว่า "เมืองบางนรา" ส่วนเมืองระแงะเดิม ได้เปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอระแงะมาจนถึงปัจจุบัน และเมืองบางนราต่อมาก็เปลี่ยนเป็น จังหวัดนราธิวาส
     รายนามของตำแหน่งเจ้าเมืองระแงะ
          1. นายหนิเดะ   พระยาระแงะ
          2. นายหนิบอสู พระยาระแงะ
          3. นายหวันโน๊ะ พระยาคีรีรัตนไพศาล
          4. นายหวันเงาะ พระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศ  วิเศษวังษา

ประวัติเทศบาล
     เทศบาลได้ยกฐานะจากสุขาภิบาลเมื่อวันที่ 25  พฤษภาคม 2542 เทศบาลตำบลตันหยงมัสเป็น 1 ใ น 14 เทศบาล ของจังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 7.24 ตารางกิโลเมตร อยู่ในอำเภอระแงะตั้งอยู่เกือบใจกลางจังหวัดนราธิวาส บนฝั่งทะเลตะวันออกแหลมมาลายู ห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนราธิวาส 22 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ ประมาณ1,340 กิโลเมตร และโดยทางรถไฟประมาณ 1,096 กิโลเมตร

ชุมชนเจริญศึกษา
     ชื่อประธานกรรมการชุมชน นางศรีนวล นิลโมทย์ ที่อยู่ติดต่อ ๓๕ หมู่ที่ ๗  ถนนพระยาระแงะ ซอย ๓  ตำบล ตันหยงมัส  อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
     
     ข้อมูลทั่วไป
          ๑. พื้นที่ ๑ ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร ๙๒๘ คน ๓๖๗ ครัวเรือน
          ๒. จำนวนประชากร  ชาย ๔๔๕ คน หญิง ๔๘๓ คน ผู้สูงอายุ ๔๖ คน เด็กเล็ก ๒๔ คน
          ๓. อายุชุมชน ๑๐ ปี
          ๔. ประวัติความเป็นมาของชุมชน เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูง ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนเจริญศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ลักษณะของครัวเรือนอาศัยอยู่เป็นกลุ่มบ้านมีทั้งหมด ๓ กลุ่มบ้าน คือ กลุ่มบ้านข้างวัด กลุ่มบ้านหลังสถานีรถไฟ และกลุ่มบ้านทุ่งบ่อทอง มีราษฎรนับถือศาสนาพุทธร้อยละ ๘๐ ศาสนาอิสลามร้อยละ ๒๐ ราษฎรส่วนมากมีอาชีพรับจ้าง ค้าขาย มีวิธีชีวิตโดยรวมแบบเครือญาติ มีความเอื้อเฟื้อโอบอ้อมอารีย์ซึ่งกันและกัน อยู่กันฉันท์พี่น้อง เมื่อมีการแบ่งเขตชุมชนราษฎรจึงได้ตั้งชื่อชุมชนนี้ว่า ชุมชนเจริญศึกษา

ชุมชนดารุสลาม
     ชื่อประธานกรรมการชุมชน นาางสาวนิดัสมินี ลอโมง ที่อยู่ติดต่อ ๑๑ หมู่ที่ ๗ ถนนเทศบาล ๘ ซอย ๒ ตำบล ตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
    
     ข้อมูลทั่วไป
          ๑. พื้นที่ ๒ ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร ๗๙๕ คน ๒๓๘ ครัวเรือน
          ๒. จำนวนประชากร ชาย ๖๔๙ คน หญิง ๗๖๐ คน ผู้สูงอายุ ๓๑๒ คน เด็กเล็ก ๗๑ คน
          ๓. อายุชุมชน ๑๐ ปี
          ๔. ประวัติความเป็นมาของชุมชน ชุมชนดารุสลาม เป็นชุมชนที่มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย และรับจ้าง ราษฎรร้อยละ ๘๐ นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ ๒๐ นับถือศาสนาพุทธ  ชุมชนดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนดารุสลาม ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอระแงะ มีนักเรียนประมาณ  ๔,๐๐๐  กว่าคน โรงเรียนดังกล่าว มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีของคนทั่วไปทั้งใน และนอกจังหวัด เมื่อมีการแบ่งชุมชนย่อยราษฎรจึงให้ตั้งชื่อชุมชนว่า ชุมชนดารุสลาม

ชุมชนตลาดกลางผลไม้
     ชื่อประธานกรรมการชุมชน นางสาวมาราฮานี เจ๊ะแม ที่อยู่ติดต่อ ๖๖ หมู่ที่ ๑ ถนนระแงะมรรคา ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
    
     ข้อมูลทั่วไป
          ๑. พื้นที่ ๒ ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร ๒,๒๙๓ คน ๗๓๓ ครัวเรือน
          ๒. จำนวนประชากร ชาย ๑,๒๒๒ คน หญิง ๑,๐๗๑ คน ผู้สูงอายุ ๙๗ คน เด็กเล็ก ๙๑ คน
          ๓. อายุชุมชน ๑๐ ปี
          ๔. ประวัติความเป็นมาของชุมชน เป็นชุมชนที่คาบเกี่ยวกับระหว่างหมู่ที่ ๗ และหมู่ที่ ๑ ของตำบลตันหยงมัส พื้นที่เป็นที่ราบสูงเป็นศูนย์รวมของสถานที่ราชการ รวมทั้งตลาดกลางผลไม้ในฤดูกาล (ลองกอง) ที่ใหญ่ที่สุดในตำบล ราษฎรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ คลองตันหยงมัส ซึ่งราษฎรในพื้นที่เขตเทศบาลใช้ในการอุปโภค และบริโภค เมื่อมีการแบ่งชุมชน ชาวบ้านบริเวณนั้นจึงตั้งชื่อชุมชนนี้ว่า ชุมชนตลาดกลางผลไม้ โดยตั้งชื่อตามสถานที่ซื้อขายผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในตำบลนั่นเอง

ชุมชนโรงภาพยนตร์
     ชื่อประธานกรรมการชุมชน นายอภิสิทธิ์ ยูนุ ที่อยู่ติดต่อ ๑๐ หมู่ที่ ๗ ถนนเทศบาล ๑๖ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
     
     ข้อมูลทั่วไป
          ๑. พื้นที่ ๐.๓ ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร ๕๐๒ คน ๑๓๕ ครัวเรือน
          ๒. จำนวนประชากร ชาย ๒๒๗ คน หญิง ๒๗๕ คน ผู้สูงอายุ ๒๐๑ คน เด็กเล็ก ๓๑ คน
          ๓. อายุชุมชน ๑๐ ปี
          ๔. ประวัติความเป็นมาของชุมชน ชุมชนโครงภาพยนตร์ เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่พื้นที่ราบสูง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นของนายทุน ราษฎรเช่าที่เพื่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัย มี ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มบ้านหลังโรงภาพยนตร์ กลุ่มบ้านโรงฆ่าสัตว์ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย และรับจ้าง มีผู้นับถือศาสนาไทยอิสลามร้อยละ ๗๐ นับถือศาสนาพุทธร้อยละ ๓๐ สถานที่ที่สำคัญในเขตชุมชนนี้ คือ ในอดีตเคยเป็นโรงภาพยนตร์ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์แห่งเดียวในเขตอำเภอระแงะ ซึ่งประชาชนในตำบลข้างเคียงเข้ามาใช้บริการจนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนตั้งอยู่หลังโรงภาพยนตร์ดังกล่าว เมื่อมีการแบ่งเขตชุมชน จึงได้ตั้งชื่อชุมชนว่า ชุมชนโรงภาพยนตร์

ชุมชนวงเวียงลองกอง
     ชื่อประธานกรรมการชุมชน นางกาญจนา ตั้งสงวนสิทธิ์ ที่อยู่ติดต่อ ๑๑ หมู่ที่ ๗ ถนนเทศบาล ๑๑ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

     ข้อมูลทั่วไป
          ๑. พื้นที่ ๐.๕  ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร ๓๔๒ คน ๑๕๘ ครัวเรือน
          ๒. จำนวนประชากร ชาย ๑๗๖ คน หญิง ๑๖๖ คน ผู้สูงอายุ ๑๙๐ คน เด็กเล็ก ๙ คน
          ๓. อายุชุมชน ๑๐ ปี
          ๔. ประวัติความเป็นมาของชุมชน เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม ซึ่งเป็นศูนย์รวมย่านธุรกิจ ร้านค้า ตลาด สถาบันการเงินของหมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ในใจกลางของย่านธุรกิจนั้นมีวงเวียนซึ่งมีรูปปั้นลองกองอยู่บนวงเวียนดังกล่าว สัญลักษณ์ลองกองนี้เป็นสัญลักษณ์ของผลไม้ที่ขึ้นชื่อของชาวตันหยงมัส เมื่อมีการแบ่งชุมชนราษฎรในกลุ่มบริเวณนี้จึงตั้งชื่อชุมชนนี้ว่า ชุมชนวงเวียงลองกอง

ชุมชนสุขาภิบาล ๙
     ชื่อประธานกรรมการชุมชน นายจีรวัฒน์ เเซ่โง้ว ที่อยู่ติดต่อ ๙๕ ถนนเทศบาล๘ หมู่ที่ ๗ ถนนเทศบาล ๑๑ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
 
     ข้อมูลทั่วไป
          ๑. พื้นที่ ๑ ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร ๗๙๕ คน ๒๓๘ ครัวเรือน
          ๒. จำนวนประชากร ชาย ๔๐๓ คน หญิง ๔,๓๙๒ คน ผู้สูงอายุ ๓๐๐ คน เด็กเล็ก ๙๑ คน
          ๓. อายุชุมชน ๑๐ ปี
          ๔. ประวัติความเป็นมาของชุมชน ชุมชนสุขาภิบาล ๙ มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสูง มีราษฎรไทยพุทธเชื้อสายจีนนับถือศาสนาพุทธเป็นจำนวนมาก มีสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาของชาวจีน ที่สำคัญ ๒ แห่ง คือ สถานที่ประกอบพิธีกรรมของชาวจีน(โรงเจ) และสมาคมจีนตันหยงมัส ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย และรับจ้าง ประชาชนนับถือศาสนาพุทธร้อยละ ๗๐ ศาสนาอิสลามร้อยละ ๓๐ พื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนตั้งอยู่บนถนนสุขาภิบาล ๙ เมื่อมีการจัดตั้งชุมชน ประชาชนในพื้นที่จึงได้ตั้งชื่อชุมชนนี้ว่า ชุมชนสุขาภิบาล ๙

ชุมชนแหลมทองวิทยา
     ชื่อประธานกรรมการชุมชน นางสุพรรณี วังธนากร ที่อยู่ติดต่อ ๘ หมู่ที่ ๗ ถนนระแงะมรรคา ๑๖ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
     
     ข้อมูลทั่วไป
          ๑. พื้นที่ ๐.๕ ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร ๓๖๐ คน ๒๗๑ ครัวเรือน
          ๒. จำนวนประชากร ชาย ๔๑๓ คน หญิง ๔๔๒ คน ผู้สูงอายุ  ๒๒๕ คน เด็กเล็ก ๓๙ คน
          ๓. อายุชุมชน ๑๐ ปี
          ๔. ประวัติความเป็นมาของชุมชน ชุมชนแหลมทองวิทยา เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนพื้นทีราบสูง มี ๔ กลุ่ม คือ กลุ่มบ้านหัวประแจ กลุ่มบ้านเขาพระ กลุ่มบ้านโรงเรียนแหลมทอง และกลุ่มบ้านบนควน ประชาชนนับถือศาสนาพุทธร้อยละ ๕๐ นับถือศาสนาอิสลามร้อย ๕๐ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายและรับราชการ ชุมชนนี้มีสถานศึกษาเอกชนที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในหมู่บ้าน/ตำบลใกล้เคียง คือ โรงเรียนแหลมทองวิทยา เมื่อมีการแบ่งชุมชนราษฎรจึงตั้งชื่อชุมชนนี้ว่า ชุมชนแหลมทองวิทยา